เรื่องที่ 1 แนะนำการใช้งานโปรแกรม Microsoft Access 2013

เรื่องที่ 2 การสร้างฐานข้อมูล

เรื่องที่ 3 การสร้างตาราง

เรื่องที่ 4 การทำงานกับตาราง

เรื่องที่ 5 ความสัมพันธ์ของตาราง

เรื่องที่ 6 การค้นหาและสอบถาม

เรื่องที่ 7 การสร้างฟอร์มข้อมูล

เรื่องที่ 8 การสร้างรายงานข้อมูล


เรื่องที่ 4 การทำงานกับตาราง


หลังจากการสร้างฐานข้อมูล สร้างตารางข้อมูล เสร็จเรียบร้อยแล้ว การทำงานของ Access 2013 ส่วนใหญ่จะทำงานใน มุมมองแผ่นข้อมูล ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูล ดูข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูล โดยจะมีส่วนประกอบ ดังนี้


การจัดการกับเร็คคอร์ดข้อมูล

1. การเพิ่มเร็คคอร์ดใหม่

เป็นการเพิ่มข้อมูลใหม่ลงในตาราง มี 2 วิธี วิธีที่ 1 คือ กรอกข้อมูลตรงฟิลด์โดยตรงในบรรทัดล่างสุด วิธีที่ 2 คือ คลิกปุ่มสร้างบนแท็บหน้าแรก เพื่อเพิ่มข้อมูลใหม่ จากนั้นก็ทำการกรอกข้อมูลตามที่ต้องการ


2. การลบเร็คคอร์ด

เป็นการลบข้อมูลที่ไม่ต้องการออก โดยคลิกเลือกเร็คคอร์ดที่ไม่ต้องการออกแล้วจากนั้น คลิกที่ปุ่ม ลบ


จากนั้นโปรแกรมก็จะบอกว่า คุณต้องการลบ 1 ระเบียน ให้คลิกที่ปุ่ม ใช่ ถ้าต้องการจะลบ คลิกที่ปุ่ม ไม่ใช่ ถ้าไม่ต้องการลบ


เมื่อกดปุ่มใช่ แล้ว ข้อมูลที่เลือกลบก็จะหายไปจากตาราง


3. การเปลี่ยนสีพื้น

เป็นการเปลี่ยนสีพื้นของเรคคอร์ดข้อมูลเพื่อแยกกันให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อความสวยงามและสะดวกในการแยกแยะข้อมูล โดยวิธีการคือ คลิกที่ ปุ่ม ดังรูป แล้วเลือกสีที่ต้องการจะเปลี่ยนสีพื้น

เพียงเท่านี้ก็สามารถเปลี่ยนสีเรคคอร์ดได้ตามต้องการ


4. การจัดรูปแบบข้อความ

ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตัวอักษร สีตัวอักษร ขนาดตัวอักษร มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เมื่อต้องการให้ข้อมูลอ่านง่าย ในการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร ทำได้ โดย คลิก ตามภาพ แล้วเลือกตัวอักษรที่ต้องการ เป็นอันเสร็จสิ้นการเปลี่ยนตัวอักษร


ส่วนการเปลี่ยนขนาดตัวอักษรก็ สามารถเปลี่ยนขนาดได้โดยการเพิ่มตัวเลขในช่องในภาพ ได้ตามต้องการ


ส่วนการเปลี่ยนสีตัวอักษร ก็สามารถคลิกเลือกตามภาพแล้วสามารถเลือกสี ตัวอักษรได้ตามต้องการ


ส่วนการทำตัวอักษรหนา ก็สามารถคลิกตามภาพ


การทำตัวอักษรเอียง สามารถคลิกได้ตามภาพ


การขีดเส้นใต้ตัวอักษร สามารถทำคลิกได้ตามภาพ


5. การปรับความกว้างและความสูง

คอลัมน์ คือ ฟิลด์ในโครงสร้างของตาราง เราสามารถปรับให้เข้ากับขนาดของเนื้อหาที่มีความยาวมากหรือสั้นมาก ก็ได้ ดังภาพ


ส่วนความสูงของแถวเรคคอร์ดก็สามารถปรับได้ดังรูป แต่เมื่อปรับแล้วทุกแถวเรคคอร์ดจะมีขนาดเท่ากัน


6. การย้ายคอลัมน์ฟิลด์

เป็นการย้ายตำแหน่งของการแสดงผลของข้อมูลเท่านั้น ไม่มีผลกับการย้ายฟิลด์จริงในโครงสร้างตาราง การย้ายตำแหน่งนั้นสามารถย้ายได้ดังภาพ